วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เพื่อน ๆ  คงเจอไวรัส “วาดภาพที่ง่าย one click >> https://www.facebook.com/xxxxxxx” ผมเองก็เพิ่งเจอวันนี้ เอง   ที่ดูเหมือนจะเป็นแอพ Facebook ที่ให้เราไปวาดภาพง่ายๆ กันมาบ้างแล้วใช่ไหมละครับ แต่ในความเป็นจริงแล้วถ้าเพื่อนคลิกที่ลิงค์ “วาดภาพที่ง่าย one click >> https://www.facebook.com/xxxxxxx” ดังกล่าว มันจะเด้งไปที่หน้าเพจ Facebook ปลอมที่มันสร้างขึ้นเอาไว้เพื่อหลอกเพื่อนๆ โดยทำทีเหมือนเพื่อนๆ Log out ออกจาก Facebook


แต่ถ้าใครเผลอ Log in บนหน้า Facebook ที่มันทำขึ้นมาเพื่อดักพาสเวิร์ดโดยเฉพาะแล้วละก็ เท่ากับเพื่อนๆ ให้มันขโมยทั้ง พาสและไอดีของเราไป โดยที่เราตั้งใจจะกรอกให้มันเองครับ ซึ่งนั่นก็มีความเสี่ยงมากๆที่เพื่อนๆ จะโดนแฮก Facebook เพราะผู้ไม่หวังดีรู้รายละเอียด Log in ของ Facebook เราหมดแล้ว โดยวิธีการเบื้้องต้นในการแก้ไขนั้น

- อันดับแรกให้เพื่อนๆ เปลี่ยนพาสเวิร์ดของ Facebook ในทันทีถ้ารู้ว่าตัวเองได้กรอกชื่อเฟสและพาสไปแล้ว

- อันดับสองให้เพื่อนๆ ลองมอนิเตอร์หรือหมั่นดู Activity Log ครับว่า Facebook ของเราไปโพส Comment อะไร หรือไป Like อะไรเพจไหนบ้างโดยที่เราไม่ได้กดหรือไม่

- ถ้าเช็ค Activity Log แล้วไม่มีการเคลื่อนไหวแปลกๆ ก็ค่อนข้างที่จะมั่นใจได้เลยครับว่า Facebook ของเรานั้นยังปลอดภัยอยู่ครับผม แต่ถ้าไปกด Like เพจไหน หรือกดแอพ Facebook แปลกๆโดยอัตโนมัติแล้วละก็ นั่นก็คือเพจที่ไม่ประสงค์ดีครับให้รีบกด Unlike โดยทันที เท่านี้ก็น่าจะหายแล้วนะครับ

- แต่อย่างไรก็ตามถ้าเพื่อนๆ ไม่สามารถ Log in เข้า Facebook ได้เลยก็สามารถกู้รหัสผ่าน เบอร์โทรศัพท์ หรืออีเมลที่ได้ลงทะเบียนไว้กับ Facebook ก็ได้เช่นกันครับ (แต่มีข้อแม้ว่า Hacker จะยังไม่เปลี่ยนแปลงข้อมูลของเพื่อนๆนะ) ซึ่งถ้าเรามีวิธีแก้ไขอื่นๆหรืออัพเดทจะมารีบเพิ่มเติมให้เพื่อนๆ ชาว NotebookSPEC ทราบทันที หรือถ้าเพื่อนๆ มีข้อมูลเพิ่มเติมก็อย่าลืมมาแชร์กันนะครับ


Activity Log


ตรวจดู Activity Log ว่ามีอะไรผิดปกติไหม  

 


 

โดยสุดท้ายนี้ก็ขอเตือนเพื่อนๆ อีกครั้งนะครับไม่ว่าจะใน Facebook หรือ Social Media รวมไปถึงเว็บไซด์ต่างๆ ก่อนที่จะกด Like หรือดาวน์โหลดและลงอะไรก็ควรที่จะมั่นใจ และอ่านดูให้รอบคอบก่อนว่าสิ่งนั้นไม่ใช่อันตรายครับไม่อย่างนั้นจะส่งผลต่อเฟสบุ๊ค คอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลสำคัญๆได้ครับ

 

ที่มา : notebookspec.com

วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557

วิธีตรวจสอบความเสถียรของสัญญาณ ADSL

การใช้งานอินเทอร์เน็ตในระดับ SOHO (Small Office/Home Office) ทั่วไป ที่เราใช้งานผ่าน DSL แล้วเกิดอาการหลุดหรือใช้งานได้ช้า โดยปกติก็จะมีการตรวจสอบในส่วนที่เป็น Internal LAN ว่ามีการใช้งานผิดปกติหรือไม่ เช่น การใช้งาน Bandwidth สูงบางเครื่อง หรือการใช้งานผ่านการดาวน์โหลดแบบ P2P เป็นต้น แต่ถ้าเป็นการเชื่อมต่อที่เป็น External ล่ะเราจะสามารถตรวจสอบอะไรได้บ้างที่สามารถยืนยันได้ว่าDSL ที่เราใช้มันไม่เสถียรจริงๆ เราลองมาดูวิธีการตรวจสอบในส่วนของการเชื่อมต่อระหว่าง ISP กับ DSL CPE (External) ตามนี้เลยครับ 


ปกติแล้วสัญญาณ ADSL จะมีค่ามาตรฐานในการวัดคุณภาพสาย เรียกว่า ค่า SNR และค่า Line Attennuation
  • ค่า SNR (Signal to Noise Ratio) จะเป็นตัวบอกถึงความแรงของสัญญาณ ADSL เมื่อเปรียบเทียบกับสัญญาณรบกวน หน่วยเป็น เดซิเบล (dB) 
    • ลอง นึกภาพตามง่ายๆครับ ให้เราและเพื่อนไปอยู่ในห้องเงียบๆห้องนึงแล้วคุยกัน เราและเพื่อนก็จะได้ยินเสียง (Signal) กันชัดเจนใช่ไหมครับ แต่ถ้าเกิดเปิดวิทยุหรือทีวีขึ้นมาให้เกิดเสียงแทรกขึ้น (สัญญาณรบกวน : Noise)เมื่อเราคุยกับเพื่อนก็จะได้ยินเสียงกันไม่ชัดเจนละ ถ้าต้องการจะให้ชัดเจนก็ต้องตะโกนให้ดังขึ้น (Tune-up Signal Strength) หรือไม่ก็มายืนใกล้ๆกัน เพื่อที่จะได้คุยกันรู้เรื่องในขณะที่มีเสียงอื่นๆเข้ามาแทรก
ค่าอ้างอิงของ SNR (dB) 
0 - 5 dB = แย่, bad, no sync/intermittent sync 
8 - 13 dB = ปานกลาง - อาจจะไม่จับสัญญาณบางครั้ง (average - and no sync issues) 
14 - 22 dB = ดีมาก (very good) 
23 - 28 dB = ยอดเยี่ยม (excellent) 
29 - 35 dB = สุดยอด (rare) 

  • SNR Margin หรือ SNRM หรือ Noise Margin หรือ Receive Margin ส่วนใหญ่จะใช้เรียกกันใน หมู่ผู้ผลิต Modem CPE ที่มักจะใช้กำหนดตั้งเป็นค่า default ของ โมเด็ม
    •  SNR Margin ให้มองว่าเหมือน (Buffer Zone) SNR Margin กับ SNR มีความสัมพันธ์กัน แต่ไม่ใช่สิ่งเดียวกันSNRM คือ ความแตกต่างระหว่าง Actual line SNR กับ SNR ที่ต้องการ Run ณ speed นั้น ๆตัวอย่างเช่น ถ้าสายเคเบิลต้องการ Run SNR 35 dB ที่ Speed 8 Mbps และ Actual line SNR = 41 dB ดังนั้น SNRM = 41-35 = 6 dB จะเป็นค่า Default ต่ำสุดที่ CPE ยอมให้ตั้งค่าได้ (หมายถึง ถ้า SNRM ต่ำกว่า 6 dB แสดงว่า Speed ไม่ Sync) ค่าที่เครื่อง Set ค่าให้ตั้ง SNRM ได้คือ 6, 9, 12, และ 15 dB ยิ่งค่า SNRM มาก ยิ่งดี คือ สัญญาณ Internet หลุดยาก 
  • ค่า Line Attenuation คือค่าการลดทอนของสัญญาณเมื่อเดินทางจาก DSLAM มาถึงโมเด็มในบ้านของผู้ใช้งาน หรือเรียกว่าค่าLoss ก็ได้ครับ 
    • บอกอัตราการสูญเสียสัญญาณจาก DSLAM มาสู่ DSL CPE ยิ่งมีค่าน้อยยิ่งดี ค่าน้อยแสดงให้เห็นว่ามี Loss ต่ำ หากสายโทรศัพท์ของบ้าน หรือที่ทำงานของเรา ห่างจากชุมสายมาก ค่า Line Attenuation ก็จะสูงตามไปด้วย
Line Attenuation
ต่ำกว่า 20 = rare, great copper lines, close to co/remote
20 - 30 = ยอดเยี่ยม ( excellent )
30 - 40 = ดีมาก very ( good )
40 - 60 = ปานกลาง ( average )
60 - 65 = แย่ ( poor )

ตัวอย่างการดูค่า DSL Line Status จาก Zyxel


สรุปได้อย่างสั้นสำหรับค่าของ SNR และ Attenuation ที่อยู่ในระดับที่เสถียร
  • SNR ไม่ควรต่ำกว่า 10 dB (เดซิเบล)
    • ค่า SNR ที่ต่ำผิดปกติ อาจเนื่องมากจากคุณภาพของสายโทรศัพท์
  • Line Attenuation ไม่ควรสูงกว่า 55 dB
    • ค่า Line Attenuation ที่สูงผิดปกติ อาจเกิดจากสัญญาณรบกวนในสายโทรศัพท์ เช่น ความชื้นหรืออยู่ไกล้แหล่งกำเนิดสัญญาณรบกวน เช่น มอเตอร์ไฟฟ้า หรือเกิดจากระยะทาง ที่ไกลเกินไปจากชุมสายโทรศัพท์ เช่น ไกลเกินระยะ 5.5 กิโลเมตรตามมาตรฐานของ ADSL
ถ้าเกิดค่า SNR และ Attenuation มีค่าตามมาตรฐานแล้วยังเกิดปัญหาดังกล่าวอยู่ ให้ลองตรวจสอบการใช้งานและการเชื่อมต่อภายในที่เป็น Internal LAN ครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง สายภายใน , กล่องรับสัญญาณ หรือแม้แต่ Splitter ครับ


ในกรณีที่มีค่า SNR Margin ต่ำ หรือมี Line Attenuation สูง ให้พิจารณาเรื่องดังต่อไปนี้
1. เดินสายโทรศัพท์ตามทางสายไฟบ้านหรือไม่ สายไฟแรงสูงที่อยู่ใกล้ๆ จะส่งผลให้เกิดสัญญาณรบกวน ( Noise) มากขึ้น
2. สายโทรศัพท์มาตรฐานหรือไม่ สายโทรศัพท์ที่ไม่ได้มาตรฐาน (เส้นลวดอาจมีขนาดเล็ก) จะทำให้การค่าความต้านทานสูงขึ้นและ Line Attenuation จะมีมากขึ้น
3. อุปกรณ์ต่อพ่วงของโทรศัพท์ เช่น POTS Splitter Micro filter โทรศัพท์ต่อพ่วง มีผลกระทบต่อทั้ง ปัจจัย ยิ่งมีอุปกรณ์ต่อพ่วงมาก ก็จะเกิดสัญญาณรบกวนและ Line Attenuation จะมีค่ามากขึ้น
4. เช็คจุดที่มีการเชื่อมต่อสายโทรศัพท์ ว่ามีการขันสายยึดแน่นเรียบร้อยหรือไม่
5. ตรวจเช็คกล่องดำว่ามีน้ำขัง หรือสายทองแดงมีอ๊อกไซต์เกาะอยู่หรือไม่ เพราะเป็นสาเหตุที่ทำให้ค่า SNR Margin ต่ำ
6. เช็คระยะทางจากชุมสายถึงกล่องดำของลูกค้า ว่าไกลจากชุมสายมากหรือไม่ หรืออยู่ปลายชุมสายหรือไม่ เพราะยิ่งไกลจากชุมสาย จะยิ่งทำให้ได้รับสัญญาณที่ต่ำรวมทั้งมีสัญญาณรบกวนเยอะขึ้น และลูกค้าจะไม่สามารถขอความเร็วที่สูงได้ จะทำให้ SNR Margin ต่ำลงแบบสุด ๆ ไม่มีความเสถียรของสัญญาณ
ในกรณีที่เช็คเบื้องต้นดังกล่าวแล้ว ยังมีค่าที่ผิดปกติอยู่ ต้องลองให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มาตรวจเช็คสภาพสายโทรศัพท์ 


ขอบคุณข้อมูลจาก www.adslthailand.com

เทคนิคการคำนวณ Summary Route (Route Summarization)

วันนี้ผมจะมาพูดถึงวิธีการคำนวณ summary route และบอกเทคนิควิธีการคิดแบบง่ายๆ (รึเปล่า 555+) ก่อนอื่นนะครับ เราจะต้องเข้าใจเรื่อง IP Address ซะก่อนนะครับ ในหัวข้อนี้ผมจะไม่พูดถึงเรื่อง IP Address มากละกันครับ ไว้มีเวลาผมจะมาเขียนให้ทีหลังละกัน เพราะเรื่อง IP Address ค่อนข้างจะยาวพอสมควร ผมจะเน้นเรื่องที่ผมจะกล่าวถึงในบทความนี้ คือ การทำ summary route นะครับ


การทำ summary route เป็นการรวม routing entry ใน routing table หลายๆเส้น รวมเป็น routing entry เดียว



ดูจากรูปแล้วจะพอเข้าใจขึ้นนะครับ Router A มี  3 routing entry  ซึ่ง Router A จะเก็บเส้นทางเหล่านี้ไว้ใน routing table และส่งเส้นทางเหล่านี้ออกไปหา Router B ในกรณีนี้ ถ้า Router A ไม่ได้ทำ summary route ไว้ Router B จะรับ routing entry ที่มาจาก Router A 3 entryแต่ถ้า Router A มีการทำ summary route ไว้ Router A จะทำการรวมเ 3 routing entry เป็น 1 entry และส่งไปให้ Router B การทำ route summarization ให้มีประสิทธิภาพจะต้องมีการ design IP Address ที่ดีด้วย เช่นการทำ VLSM เอาแค่เบื้องต้นนะครับ จะได้เข้าวิธีการคำนวณ summary route กัน ^_^


ก่อนอื่นเลยเราจะต้องใช้ Magic Box ตัวเดียวกับที่เราใช้มาคำนวณ IP Address นั่นแหละครับ ถ้าเรายังจำไม่ได้ ให้เราเขียนตารางขึ้นมาก่อนครับ แต่ในบทความของ summary route ผมเขียนเท่านี้ละกันครับ

128
64
32
16
8
4
2
1

อ่ะ ทีนี้ เราลองมาดูการทำ summary แบบดั้งเดิมกันก่อนละกันครับ ลองมาดูกัน

แบบดั้งเดิมเลยก็คือ แปลงเป็นฐาน 2 แล้วนำชุด IP ที่ต้องการทำ summary มาเทียบกันจากซ้ายไปขวา ให้สนใจบิตที่เหมือนกัน
192.168.0.0/24  192.168.000000|00.00000000
192.168.1.0/24  192.168.000000|01.00000000
192.168.2.0/24  192.168.000000|10.00000000
192.168.3.0/24  192.168.000000|11.00000000
ด้านขวาที่แบ่งไว้ให้แทนด้วยศูนย์ 192.168.000000|00.00000000
เมื่อผมนำมาเขียนใหม่จะได้ 192.168.0.0
ส่วน subnet mask หาได้จากตัวเลขของ IP ที่เราแบ่งไว้ โดยให้ด้านซ้ายเท่ากับ 1 ด้านขวาเท่ากับ 0
192.168.000000|00.00000000  192.168.0.0
255.255.111111|00.00000000  255.255.252.0

ฉะนั้นเมื่อผมทำการ summary IP Address ชุดด้านบนแล้ว 4 ชุด ออกมาเป็น 1 ชุด ได้ดังนี้

192.168.0.0/22


แต่ผมมีวิธีคิดไวๆมาฝากครับ เดี๋ยวไปดูกันเลย

ผมใช้ IP ชุดเดิมละกันนะครับ
192.168.0.0/24
192.168.1.0/24
192.168.2.0/24
192.168.3.0/24
และผมใช้ตาราง Magic Box

128
64
32
16
8
4
2
1
 
มาเริ่มกันเลยครับ
  • ผมจะดูว่า IP ชุดนี้ Octet ไหนที่มีค่าตัวเลขที่ไม่เหมือนกัน ในข้อนี้คือ Octet ที่ 3 ผมก็จะนับจากตางราง เมื่อเราสนใจที่ Octetที่ 3  เราก็จะนับเริ่มที่ /17
    (Octet ที่ 1 = /1 - /8 , Octet ที่ 2 = /9 - /16 , Octet ที่ 3 = /17 - /24 , Octet ที่ 4 = /25 - /32) 
    /17
    /18
    /19
    /20
    /21
    /22
    /23
    /24
    128
    64
    32
    16
    8
    4
    2
    1
    • ผมจะดูว่ามี Network กี่ชุดที่เราจะมาทำ summary ในโจทย์นี้เรามี 4 ชุด ใช่ไหมครับ ผมจะเอามาดูในตารางว่า ช่องไหน หรือ สแลช (/) เท่าไหร่ ที่มีค่าเท่ากับ 4 ในที่นี้ช่องที่มีค่าเท่ากับ 4 คือ /22 
    • จากนั้นมาดูว่าที่ /22 ที่มีค่าเท่ากับ 4 นั้น มีตัวเลขอะไรบ้างที่อยู่ในกลุ่มนี้ เริ่มนับตั้งแต่ 0 เลยครับ
      0-3 , 4-7 , 8-11 , 12-15 , 16-19 , 20-23 ……. ไปเรื่อยๆ จะเห็นว่าแต่ละกลุ่มจะมี 4 เบอร์ 
      (ถ้าโจทย์ข้อนี้มี 8 ชุด IP เราก็นับ ให้แต่ละกลุ่มมี 8 เบอร์ เช่น 0-7 , 8-11 , 12-19 , 20-27 ……)
    • จะเห็นว่ากลุ่มแรก 0-3 ตรงกับชุดที่โจทย์ให้มา (ดูเฉพาะ Octet ที่ 3 นะครับ เพราะเรากำลังสนใจ Octet ที่ 3 อยู่)
    192.168.0.0
    192.168.1.0
    192.168.2.0
    192.168.3.0
    • เราจึงเอา IP ชุดแรกสุดมาเขียน ตามด้วย สแลช (/) ที่หาได้จากข้อ 2 คือ /22 จะได้คำตอบครับคำตอบ คือ 192.168.0.0/22
    เพราะฉะนั้นผมสรุปได้ว่า summary route ของชุด IP เหล่านี้ คือ 192.168.0.0/22
    192.168.0.0/24
    192.168.0.0/22
    192.168.1.0/24
    192.168.2.0/24
    192.168.3.0/24


    มาลองดูอีกตัวอย่างนึงนะครับ
    192.168.2.0/24
    192.168.3.0/24
    192.168.4.0/24
    192.168.5.0/24
    ทำตามสเปเดิมเลยครับ ลองดูกัน
    • ผมจะดูว่า IP ชุดนี้ Octet ไหนที่มีค่าตัวเลขที่ไม่เหมือนกัน ในข้อนี้คือ Octet ที่ 3 ผมก็จะนับจากตางราง เมื่อเราสนใจที่ Octetที่ 3  เราก็จะนับเริ่มที่ /17(Octet ที่ 1 = /1 - /8 , Octet ที่ 2 = /9 - /16 , Octet ที่ 3 = /17 - /24 , Octet ที่ 4 = /25 - /32)
    /17
    /18
    /19
    /20
    /21
    /22
    /23
    /24
    128
    64
    32
    16
    8
    4
    2
    1
    • ผมจะดูว่ามี Network กี่ชุดที่เราจะมาทำ summary ในโจทย์นี้เรามี 4 ชุด ใช่ไหมครับ ผมจะเอามาดูในตารางว่า ช่องไหน หรือ สแลช (/) เท่าไหร่ ที่มีค่าเท่ากับ 4 ในที่นี้ช่องที่มีค่าเท่ากับ 4 คือ /22 
    • จากนั้นมาดูว่าที่ /22 ที่มีค่าเท่ากับ 4 นั้น มีตัวเลขอะไรบ้างที่อยู่ในกลุ่มนี้ เริ่มนับตั้งแต่ 0 เลยครับ 0-3 , 4-7 , 8-11 , 12-15 , 16-19 , 20-23 ……. ไปเรื่อยๆ จะเห็นว่าแต่ละกลุ่มจะมี 4 เบอร์ 
      (ถ้าโจทย์ข้อนี้มี 8 ชุด IP เราก็นับ ให้แต่ละกลุ่มมี 8 เบอร์ เช่น 0-7 , 8-15 , 16-23 , 24-31 ……) 
    • จะเห็นว่าโจทย์ข้อนี้ไม่เหมือนกับข้อที่ก่อนแล้วล่ะครับ เพราะกลุ่ม IP ตามข้อ 3 กลุ่มแรก 0-3 ไม่ครอบคลุมชุด IP ที่เราต้องการจะทำ summary ซะแล้ว กลุ่มที่ 2 คือ 4-7 ก็ไม่ครอบคลุมเช่นเดียวกัน (ดูเฉพาะ Octet ที่ 3 นะครับ เพราะเรากำลังสนใจ Octetที่ 3 อยู่เพราะฉะนั้นเราจึงต้องขยายเพิ่มจาก 4 เป็น 8 (ตามตารางลองดูนะครับ ถ้าเราใช้ 8 เราจะได้ตามนี้ 0-7 , 8-15 , 16-23 , 24-31 …….. 
    • ทีนี้เราจะเห็นว่ากลุ่มแรกคือ 0-7 จะครอบคลุมชุด IP ของเราแล้ว (ดูเฉพาะ Octet ที่ 3 นะครับ เพราะเรากำลังสนใจ Octet ที่ 3 อยู่)
    192.168.2.0
    192.168.3.0
    192.168.4.0
    192.168.5.0
    • ยังไม่จบครับ เพราะข้อ 4 เราขยับจาก 4 ไปเป็น 8 แล้วนะครับ เพราะฉะนั้นเราจะตอบ /22 ไม่ได้แล้ว เราจึงต้องดูตารางใหม่อีกที จะได้ /21 ครับ ไม่ใช่ /22 ละ
      คำตอบ คือ 192.168.0.0/21
    เพราะฉะนั้นผมสรุปได้ว่า summary route ของชุด IP เหล่านี้ คือ 192.168.0.0/21 (จะสังเกตุว่า มันจะรวมถึง ชุด IP 0-1 และ 6-7 ไปด้วยครับ)
    192.168.0.0/24
    192.168.0.0/22
    192.168.1.0/24
    192.168.2.0/24
    192.168.3.0/24
    192.168.4.0/24
    192.168.5.0/24
    192.168.6.0/24
    192.168.7.0/24


    เย้ !!! จบแล้วครับ 55+ อย่างที่ผมบอกนะครับว่า อย่างน้อยๆ เราจะต้องมีความเข้าใจเรื่อง IP Address มาก่อน รวมถึง VLSM ด้วยนะครับ จะสามารถทำให้เราเข้าใจได้ง่ายขึ้นครับ ถ้ามีในส่วนไหนผมอธิบายได้ไม่ดีพอ หรือ ไม่เข้าใจ ก็ต้องขออภัยด้วยทุกท่านด้วยนะครับ การบรรยายออกมาเป็นภาษาเขียนผมว่ามันยากอยู่เหมือนกัน ยิ่งเป็นเรื่อง IP แล้วด้วย ^_^” ยังไงแล้ว ผมก็หวังว่าคงจะมีประโยชน์นะครับ และผมยินดีน้อมรับคำติชมทุกประการครับ แล้วเจอกันใหม่ครั้งหน้าคร้าบบบ


    By ReFeeL